แบบทดสอบกลางภาค1/60

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5

คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย
เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล การจัดการข้อมูล สามารถประมวลได้ครั้งละมาก ๆ จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน (multitasking) ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์การโดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า Local Area Network : LAN เมื่อเชื่อมหลายๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (internet)
คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน ทำงานร่วมกัน ส่งเอกสารข้อความระหว่างกัน สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวิดีทัศน์ ไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่าสื่อประสม (Multimedia) และ คอมพิวเตอรในยุคที่ห้า นี้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง
ค.ศ. 1981 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 นี้นอกจากจะมีการสร้าง The IBM PC และมีการสร้าง Windows เพื่อสะดวกแก่การใช้งานมากยิ่งขึ้น
ค.ศ. 1985 มีการพัฒนา Microsoft Windows ของบริษัท Microsoft โดยมี Bill Gates เป็นกรรมการผู้จัดการ จนพัฒนามาเป็น Window3.0, Window3.11 และมาถึง Window95 และ Window 98 จนถึงการพัฒนา วินโดว์ขึ้นเป็นลำดับต่อไปในปัจจุบัน
Bill Gate
นอกจาก Windows แล้ว ยังได้มีการสร้างโปรแกรมในส่วนของการใช้งานจริง อันได้แก่ Microsoft Office95, Microsoft Office97 และ Microsoft Office 2000 ด้วย
การพัฒนาในยุคที่ 5 นี้ เน้นหนักในด้านการพัฒนาแนวความคิดมากกว่าอุปกรณ์ประกอบในเครื่องคอมพิวเตอร์ อันได้แก่แนวความคิดในรูปของ “ปัญญาประดิษฐ์” (Artificial Intelligence: AI) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) และ ระบบเครือข่าย (Computer Network) ซึ่งในแนวความคิดทั้ง 3 ที่กล่าวถึงนี้ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง อย่างครอบคลุม และยังสามารถเชื่อมโยงกับเครื่องอื่นๆ ทำงานกันอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น